วิธีการคำนวณค่าระวางสินค้าทางอากาศ
ส่วนมากแล้วการคำนวณค่าระวางสินค้าทางอากาศ จะอิงตามน้ำหนักสินค้าเป็นหลัก แต่มีบางกรณีที่สินค้าขนาดใหญ่ ค่าระวางจะถูกอิงจากปริมาตรของสินค้าแทน เนื่องจากว่าพื้นที่ของเครื่องบินมีค่อนข้างจำกัด ดังนั้นถ้าสินค้ามีขนาดใหญ่จะทำให้เครื่องบินเสียพื้นที่ในการวางสินค้าชนิดอื่น เลยทำให้มีการคำนวณค่าระวาง 2 แบบ โดยมีตัวอย่างดังนี้
- สินค้า A มีน้ำหนัก 100 กิโลกรัม ขนาด 50x50x50 ซม.
น้ำหนัก = 100 กิโลกรัม
ปริมาตร = 50x50x50 = 125,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร แปลงเป็นน้ำหนักโดยการหาร 6,000
น้ำหนักโดยปริมาตร = 125,000/6000 = 20.83 กิโลกรัม
ดังนั้นสินค้าชนิดนี้จะถูกคิดค่าระวางอิงตามน้ำหนักสินค้า
- สินค้า B มีน้ำหนัก 30 กิโลกรัม ขนาด 360x30x40 ซม.
น้ำหนัก = 30 กิโลกรัม
ปริมาตร = 360x30x40 = 432,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร แปลงเป็นน้ำหนักโดยการหาร 6,000
น้ำหนักโดยปริมาตร = 432,000/6,000 = 72 กิโลกรัม
ดังนั้นสินค้าชนิดนี้จะถูกคิดค่าระวางอิงตามปริมาตรของสินค้า