เพราะเรื่องกฎหมายเป็นเรื่องสำคัญที่เราจะต้องทำมันให้ถูกต้องในฐานะพลเมืองที่ดี บทความนี้จะชี้ให้เห็นถึงภาษีนำเข้า ส่งออกที่เป็นเรื่องใกล้ตัวกว่าที่คิด และจะมาไขข้อข้องใจเบื้องต้นที่หลายๆคนอาจจะยังไม่เคยรู้ เพื่อความสบายใจและปลอดภัยไม่โดนเรียกสอบย้อนหลังแน่นอน
ภาษีนำเข้า
ภาษีประเภทนี้เป็นภาษีที่ยกตัวอย่างให้เห็นภาพง่ายๆ ก็คือ เวลาที่คุณไปช็อปเพลินๆที่ต่างประเทศและหิ้วสินค้ากลับมาที่ไทย หากสินค้าที่เราหิ้วมามีมูลค่าสูงเกินกว่าที่กฎหมายอนุญาตจะต้องเสียภาษีอากร
หากจะยกตัวอย่างให้เห็นภาพง่ายๆก็คือ หากช็อปของจากต่างประเทศ เมื่อเดินทางกลับเข้าประเทศแล้วจะเจอ 2 ช่อง คือ
● ช่องสีเขียว
กรณีที่ไม่มีสินค้าที่ต้องเสียภาษี หรือสิ่งต้องห้ามให้เดินเข้าช่องนี้ได้ แต่หากจับได้ทีหลังว่ามีจะต้องเสียค่าปรับตามกำหนด
● ช่องสีแดง
กรณีที่ผู้โดยสารมีสิ่งของที่ต้องเสียภาษีอากร หรือของต้องห้ามจะต้องมาแสดงงกับเจ้าหน้าที่ศุลกากรในช่องนี้
สินค้าแบบไหนจะต้องเสียภาษี
● ของลอกเลียนแบบละเมิดสิทธิทางปัญญา
● ของที่ติดตัวมีมูลค่าเกิน 80,000 บาท
● กระเป๋าแบรนด์แนมที่มีมูลค่าเกิน 10,000 บาท
สินค้าแบบไหนไร้ภาษี
● ของใช้ส่วนตัวมูลค่ารวมไม่เกิน 10,000 บาท
● ของใช้ส่วนตัวหรือในวิชาชีพจากร้านค้าปลอดภาษีที่อยู่ในสนามบิน มูลค่ารวมกันไม่เกิน 20,000 บาท
● ของใช้ในบ้านเรือนที่ติดมาเนื่องจากย้ายภูมิลำเนา ซื้อจากร้านค้าปลอดภาษีในสนามบิน มูลค่ารวมกันไม่เกิน 50,000 บาท
● บุหรี่ไม่เกิน 200 ม้วน หรือยาสูบไม่เกิน 250 กรัม
● เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่เกิน 1 ลิตร
ภาษีส่งออก
ภาษีอัตราศุลกากรขาออก คือภาษีที่ทางกรมศุลกากรกำหนดให้สินค้าที่ส่งออกทั้ง 9 ประเภท ดังต่อไปนี้ จะต้องเสียค่าภาษีส่งออก
1. ข้าว
2. เศษโลหะ
3. หนังโคและหนังกระบือ
4. ไม้ ไม้แปรรูปทุกชนิด
5. เส้นไหมดิบที่ไม่ได้ตีเกลี่ยว และเส้นด้ายที่ทำด้วยไหม
6. ปลาป่นหรือปลาอบแห้งที่ยังไม่ได้ป่น
7. ของที่ส่งออกจากพื้นที่ที่พัฒนาร่วมตามกฎหมาย
8. ของที่ยังไม่ได้ระบุหรือรวมไว้ในประเภทอื่นใดในพิกัดอัตราอากรขาออก
เพราะเรื่องภาษีนำเข้า ส่งออก เป็นเรื่องใกล้ตัวกว่าที่คิด และเราควรจะมีความรู้เบื้องต้นติดตัวเอาไว้ เพื่อการไปต่างประเทศครั้งต่อไปจะได้ช็อปอย่างสบายใจ ไร้กังวลว่าจะต้องเสียภาษีอะไรเพิ่มหากเราทำถูกเสียอย่าง เห็นด้วยมั้ยคะ?